อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (Arp Anet เรียกสั้น ๆ ว่า อาร์พา) ที่ตั้งขึ้นในปี 2512 เป็นเครือข่ายคอมพิวเคอร์ของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARP : Advanced Research Project Agency)
มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)
ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก
ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต โดยเครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกา และปัจจุบันนี้มีเครือข่ายย่อยมากถึง 50,000 เครือข่ายทีเดียว และคาดว่า ภายในปี 2543 จะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งโลกประมาณ 100 ล้านคน หรือใกล้เคียงกับประชากรในโลกทั้งหมด
สำหรับประเทศไทยนั้น อินเตอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530-2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์ระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535และ ในปี 2538 ก็มี การเปิดให้ บริการอินเตอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ (รายแรก คือ อินเตอร์เน็ตเคเอสซี) ซึ่งขณะนั้น เวิร์ลด์ไวด์เว็บกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเตอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World – Wide Web) (จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต
- เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถ ติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ แพร่หลายและให้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
- 1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronoc mail หรือ e-mail ) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่าง กันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบ อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
- หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะจำส่งทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของอยู่ที่จะเป็นขื่อรหัสให้และขื่อเครื่องประกอบกัน เช่น sombat@ipst.ac.th การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติ และนำส่งไปยังปลายางได้อย่างถูกต้อง การับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
- ปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นเป็นข้อมูลแบบใดก็ ได้ทีอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล (digital) และสามารถใช้ภาษาอะไรก็ได้
รูปที่ 7.3 ข้อความที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ส่งผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
- 2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือ มีสถานีให้บริการการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆ และให้บริการ ผู้ใช้สมารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น
รูปที่ 7.4 โปรแกรม CuteFTP
3) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือ ข่าย เช่น นักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรมไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้งานจำนวนมาก ฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูลในรูปส่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สมารถเรียก อ่าน หรือนำมาพิมพ์ ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่ สามารถค้นหาข้อมูลใดๆ ก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (Wold Wide Wed : WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก5) การอ่านจากกลุ่มข่าว (USENET) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจ แต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้ และหากผู้ใดต้องการเขียนโต้ตอบก็สามารถเขียนได้ กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว6) การสนทนาบนเครือข่าย (chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลกผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทีนทีทันใดบนจอภาพ ตอมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอ ก็สามารถสนทนาโดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้ 7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย เป็นการ ประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดีทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูล จำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดีทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร รูปที่ 7.7 สถานีโทรทัศน์บนเครือข่าย
8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีการให้บริการบนอินเตอร์เน็ตเกิด ขึ้นมากมายโดยผู้ใช้สามารถใช้บริการโดยอยู่ที่ไหนก็ได้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง การบริการบนอินเทอร์เน็ตมีทั้งเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ ซื้อข่ายสินค้า ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และบริการอื่นๆ ซึ่งการให้บริการเหล่านี้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบได้ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ : NECTEC) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนี้ - สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของ ตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่างๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่และเก่ามาดูได้
โทษของอินเทอร์เน็ต
1. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) อาการของโรคติดอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
- ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
- ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง
- การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียนและความสัมพันธ์ยังใช้อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
- มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต
- ใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองตั้งใจไว้
2. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม
ปัจจุบัน เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือย รวมทั้งคลิปวีดิโอต่าง ๆ เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชน ได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่ เพราะว่าอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้ สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิด ผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
3. ไวรัส ม้าโทรจัน
- ไวรัส เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือ พื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
- ม้าโทรจัน เป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึด เมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับ อนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการและสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเรา ด้วย
- หนอนอินเทอร์เน็ต ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะแพร่พันธ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่งครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
บัญญัติ10ประการของการใช้อินเทอร์เน็ต
ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึงบัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้ เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ 1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง ปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อ ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์ การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วย ให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป ( โครงการการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย. : http://www.school.net.th/ ) หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
- ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
- THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
- NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
- ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย , บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)และบริษัทเอกชนอื่นๆ
แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
กรุงเทพฯ 19 ก.ย.- บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์การใช้บริการอินเทอร์เน็ตของคนไทย ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากประมาณ 7.6 ล้านราย ในปี 2548 จะเพิ่มขึ้นเป็น 10.1 ล้านราย ในปี 2551 หรือขยายตัวร้อยละ 10 ต่อปี ขณะเดียวกันการใช้อินเทอร์เน็ตจะขยายตัวไปยังภูมิภาคมากขึ้น เพราะการขยายพื้นที่บริการและค่าบริการที่ต่ำลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะหลัง โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 7.6 ล้านราย ในปี 2548 แม้ว่าการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะชะลอตัวลง แต่ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความกว้างของช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลขยายตัวเพื่อรองรับกับความต้องการ ในขณะที่เทคโนโลยีการเชื่อมต่อได้รับการพัฒนาให้มีความเร็วมากขึ้น โดยการขยายบริการจากอินเทอร์เน็ตความเร็วปกติไปสู่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งเริ่มมีผู้ใช้บริการมากขึ้น นอกจากนี้ ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มต่ำลงกว่าเดิม ประกอบกับการพัฒนาคอนเทนท์หรือเนื้อหาที่มีความหลากหลายด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประกอบธุรกิจภายหลังจากที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้เริ่มให้ใบอนุญาตใหม่แก่ผู้ประกอบการยิ่งเป็นการกระตุ้นให้ภาพรวมของบริการอินเทอร์เน็ตมีความชัดเจนมากขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์แนวโน้มของบริการอินเทอร์เน็ตในระยะปานกลางนับจากนี้ (ปี 2549-2551) ในเรื่องจำนวนผู้ใช้บริการใน 3 ปีข้างหน้า จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจะสูงถึงประมาณ 10.1 ล้านคน ในปี 2551 มีอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 10 ต่อปี และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปในภูมิภาคมากขึ้น เพราะการขยายตัวของพื้นที่ให้บริการและราคาค่าบริการที่มีแนวโน้มต่ำลง กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตมากยังคงเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนทำงาน คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของผู้ใช้ทั้งหมด โดยเป้าหมายของการใช้จะมุ่งไปที่อินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียน ค้นคว้า และการสื่อสาร จำนวนผู้ให้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการให้ใบอนุญาตประกอบการใหม่ของ กทช. ทดแทนสัญญาการให้บริการซึ่งไอเอสพี จำนวน 18 ราย ที่ทำไว้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งหมดอายุลงในปี 2548-2553
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะในส่วนของความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะกลายเป็นการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การประยุกต์ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งด้านการค้า ด้านการสื่อสาร ด้านการศึกษา และด้านความบันเทิง การเติบโตของเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศได้และราคาค่าบริการที่ต่ำลง รวมทั้งความครอบคลุมของเครือข่ายที่มากขึ้น อีกทั้งมีมาตรการในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของภาครัฐให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ส่งเสริมให้เกิดการบริหารและจัดการแก่ธุรกิจบริการมีต้นทุนการให้บริการที่ต่ำ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้เครือข่ายให้บริการครอบคลุมและทั่วถึง และมีราคาที่เป็นธรรมทั่วประเทศ ย่อมทำให้บริการอินเทอร์เน็ตเติบโตและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้อย่างเต็มที่.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น