วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
แนวคิด
        การดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องการความสะดวก ความรวดเร็ว และต้องการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ดังนั้น จึงก่อให้เกิดรูปแบบของการบริการต่าง ๆ บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาเพื่อจะได้สามารถนำการบริการต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

สาระการเรียนรู้
1.เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web : WWW)
2.ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
3.การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP)
4. การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย Telnet
5.บริการค้นหาข้อมูลข้ามเครือข่าย
6.บริการสนทนาออนไลน์ (Chat)
7.กระดานข่าว หรือ Bulletin Board System (BBS)
8.การค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.อธิบายความหมายของเครือข่ายใยแม่งมุมได้
2.บอกถึงรูปแบบการบริการบนอินเทอร์เน็ตแต่ละประเภทได้
3.จำแนกรูปแบบการบริการบนอินเทอร์เน็ตแต่ละประเภทได้

เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web : WWW)
เป็นการบริการในการสืบค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการบริการที่สามารถทำให้เอกสารต่าง ๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้
การที่เราสามารถเชื่อมโยงเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่ทั่วโลกได้ ซึ่งคล้ายกับใยแมงมุม จึงทำให้ระบบนี้ถูกเรียกว่า เครือข่ายใยแมงมุม (Wold Wide Web) หรือ WWW เว็บ (Web) นั่นเอง
การนำเสนอข้อมูลในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)  พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี พ.ศ 2532 (ค.ศ 1989) โดยทีมงานจากห้องปฏิบัติการทางจุลภาคปิสิกส์แห่งยุโรป (Europen Physics Labs )หรือที่รู้จักในชื่อ CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire)ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุนการเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือ เอกสารเว็บ (Web Document)จากเครื่องแม่ข่าย (Server)ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในระบบ www เรียกว่า ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language)
ลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารเว็บคือ การเชื่อมโยงเอกสาร หรือที่เราเรียกว่า Link  จากเอกสารภายในหน้าเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงสามารถกระทำได้ทั้งในลักษณะของข้อความ หรือ ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper text)และสื่อประสมต่าง ๆ ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูล อาจจะอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพและเสียง หรือ “ไฮเปอร์มีเดีย  (Hyper Media)

ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
เป็นบริการหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นวิธีติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐาน โดยที่สามารถจะรับ-ส่งเอกสารทั้งที่เป็นเอกสารข้อความและทั้งที่เป็นเอกสารแบบมัลติมีเดีย คือ มีทั้งภาพและเสียง โดยสารมารถสื่อสารกันได้ไม่ว่าผู้รับและผู้ส่งจะอยู่ใกล้หรือไกลกันเพียงใดก็ตามบุรุษไปรษณีย์ที่จะทำนห้าที่ส่งจดหมายต่าง ๆ ให้กับเราก็คือเว็บไซต์ที่เราได้ขอลงทะเบียนเป็นสมาชิกเพื่อใช้บริการ เมื่อลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาไว้สำหรับติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้เรียกว่า E-mail adderss
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
เว็บไซต์มามายที่เปิดให้ใช้บริการ E-mail เพื่อสร้างความสะดวกให้แก่ผู้ไปใช้บริการอินเทอร์เน็ต และการใช้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็คล้ายกับการจากสำนักงานไปรษณีย์ ก็คือ เมื่อมีผู้ส่งก็จะต้องมีผู้รับ และผู้รับจดหมายเท่านั้นที่จะสามารถเปิดจดหมายของตนเองได้

การโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย (File Transfer Protocol : FTP)
FTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการโอนย้ายข้อมูลข้ามเครือข่าย ข้อมูลทีโอนย้ายมีหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ เพลง รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข่าวสาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฯลฯ โดยการโอนย้ายข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการ
     Download คือ การนำข้อมูลจากเครื่องที่ไห้บริการ FTP หรือ จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
Upload คือ การนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไปไว้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การใช้งาน FTP สามารถกระทำได้โดยผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) หรือ
สามารถทำได้ในรูปแบบของ Text Mode ผ่านUnix ด้วยคำสั่ง Get, Put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม Win  FTP Light, Cute  FTP
        การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้บางประเภทในนามของ Anonymous FTP
      การบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่ายด้วย Telnet
     เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถล็อกอิน (Login) เข้าไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลได้ เสมือนกับเราไปนั่งใช้งานที่หน้าจอของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ และสามารถสั่งให้เครื่องปฏิบัติงานตามคำสั่ง หรือโปรแกรมจาดเครื่องเราก็ได้ การแสดงผลลัพธ์ของโปรแกรม Telnet นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะแสดงในรูปของข้อความ
       การทำงานของ Telnet จะช่วยประหยัดทั้งเวลา และค่าใช้จ่าย เป็นการบริการที่สามารถขอเข้าไปใช้บริการ หรือ ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ ภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะมีเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่จะทำหน้าที่ในการประมวลผล และจักเก็บข้อมูลไว้ยังฐานข้อมูล งานบางชนิดจะต้องใช้โปรแกรมสำหรับการทำงานเฉพาะอย่าง ดังนั้น เครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) จะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง และการติดตั้งโปรแกรมก็จะติดตั้งไว้ที่เครื่องแม่ข่ายเพียงเครื่องเดียวเพื่อสะดวกในการใช้งาน ซึ่งเครื่องแม่ข่ายภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือ ซูเปอร์ คอมพิวเตอร์
          เมื่อเราต้องเดินทางไปทำงานยังต่างจังหวัด แล้วต้องส่งข่อมูลเข้ามายังหน่วยงาน ก็สามารถนั่งทำงานอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วก็จะใช้บริการ Telnet โดยการล็อกอิน (Login) เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ขาย (Server) ของหน่วยงาน ก็จะสามารถส่งข้อมูลเข้าไปในเครื่องแม่ข่ายประมวลผลข้อมูลให้ แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้กลับไปแสดงผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง เสมือนกับเราเข้าไปนั่งทำงานที่หน้าจอเครื่องแม่ข่ายภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ของหน่อยงาน ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์เข้าไปใช้บริการ Telnet จะต้องเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการดูและระบบ หรือสมาชิกของระบบ จึงจะได้ล็อกอิน (Login) และรหัสผ่าน (Passwosd) เพื่อเปิดประตูเข้าไปใช้บริการของระบบนี้ บริการของระบบนี้ บริการ Telnet สามารถค้นหาข้อมูล และโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างกันได้

บริการค้นหาข้อมูลข้ามเครือข่าย
    การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอีกบริการหนึ่งที่นิยมมาก เพราะจะสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะมีข้อมูลอยู่เป็นจำนวนมากดังนั้น การค้นหาข้อมูลจึงจำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมเพื่อให้ทราบแหล่งที่อยู่ของข้อมูล ดังเช่น
    Archle
    เป็นวิธีการแบบง่าย ๆ พัฒนาจากมหาวิทยาลัย  Mc Gill ใน Montreal ประเทศแคนาดาเนื่องจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลบรรจุอยู่อย่างมากมาย ดังนั้นเพื่อช่วยให้ค้นหาแฟ้มข้อมูลได้อย่างรวดเร็วจึงโปรแกรม อาร์คี (Archie) ช่วยในการค้นหาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งอาร์คี (Archie) เป็นระบบค้นหาแฟ้มข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่ไห้บริการ FTP ที่เป็นแบบ Anonymous FTP โดยการค้นหาแฟ้มข้อมูลของเรานั้น เราทราบเฉพาะชื่อของแฟ้มข้อมูลแต่ไม่ทราบว่าแฟ้มข้อมูลนั้นอยู่ที่เครื่องใดบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต   โปรแกรมนี้จะช่วยสร้างบัตรรายการไว้ในฐานข้อมูลของระบบ เมื่อเราต้องการค้นหาว่าแฟ้มข้อมูลนั้นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ใด อาร์คี (Archie) จะช่วยตรวจสอบจากบัตรรายการในฐานข้อมูลที่ได้จัดทำไว้ แล้วจะแสดงให้เราทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บแฟ้มข้อมูลนั้น ๆ  ไว้ เมื่อทราบแล้วเราก็สามารถใช้คำสั่ง FTP เพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลดังกล่าวมาว่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้

     Gopher
       พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิธีที่สามารถรับข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพ เสียง และข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย เป็นต้น การค้นหาข้อมูลในรูปแบบของโกเฟอร์ (Gopher) ไม่จำเป็นที่จะต้องทราบโดเมนเนม (Domain Name) หรือ IP Address เพราะระบบการค้นหาข้อมูลของ โกเฟอร์ (Gopher) จะใช้รูปแบบของเมนู และไม่ต้องทราบรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โกเฟอร์ (Gopher) จะใช้รูปแบบของเมนู และไม่ต้องทราบรายละเอียดของคอมพิวเตอร์ที่เชื่องโยงอยู่กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โกเฟอร์ (Gopher) จะจัดรูปแบบเมนูไว้ไห้เลือก เพียงแต่ต้องการเลือกรายการใดก็กด Entet เพื่อที่จะติดต่อไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่ให้บริการของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น

      บริการสนทนาออนไลน์ (Chat)
     การสนทนาออนไลน์  หรือที่เรียกว่า   chat (IRC- Internet Relay Chat)เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลที่ใช้บริการบนเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีการโต้ตอบกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำตอบเหมือนการใช้ E-mail โดยการพิมพ์ข้อความ หรือใช้เสียงในการสนทนาก็ได้ การสนทนาสามารถกระทำได้ในลักษณะของกลุ่มสนทนา เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ปัจจุบันนี้ได้นำวิธีการสนทนาออนไลน์มาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Coference) โดยใช้อุปกรณ์ เช่น กล้องที่ใช้ในการส่งภาพ ไมโครโฟน เป็นต้น
โปรแกรมที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Porcj ,ICQ ,Microsoft Netmeeting

กระดานข่าว หรือ Bulletin Board System (BBS)
เป็นการในรูปแบบของกลุ่มสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ในกลุ่มของผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน โดยจะตั้งเป็น กลุ่มข่าว(News Group)เช่น กลุ่มอายุก็ได้ เช่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้หญิงทำงาน เป็นต้น เพื่อให้แสดงความคิดเห็น หรือเมื่อต้องการสอบถามในเรื่องที่สงสัยและต้องการคำตอบ ผู้ที่อยู่ภายในกลุ่มสามารถให้ คำแนะนำ หรือตอบข้อสงสัยได้ ทำให้เราได้รับประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ ๆ จากหลากหลายความคิดเห็นที่แตกต่าง กันไป
การค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce
E-Commerce หรือ Electronic Commerce เป็นระบบการค้าที่มีการซื้อ-ขาย ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งโลกยุคดิจิทัลระบบการค้าจะมิได้ยึดรูปแบบเดิม คือ ต้องหาทำเลเพื่อตั้งร้านค้าหรือหาพนักงานในการดำเนินการค้า แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีของการสื่อสาร จะทำให้เราสามารถเปิดการค้าได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดกว่ารูปแบบเดิม และสามารถดำเนินการค้าได้ไม่เฉพาะแต่ภายในประเทศ หรือในเขตพื้นที่ตั้งร้านเท่านั้น แต่สามารถค้าขายได้กับทุกคนที่ใช้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนอกจากนี้ยังเป็นวิธีทำการค้าที่เปิดตลอด 24 ชั่วโง เพียงแต่นั่งอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ภายในบ้านของเราก็สามารถดำเนินการซื้อ –ขายสินค้าได้ ดังนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดสู่ร้านค้าทั่วโลก


   





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น