วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 4 การใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์


หน่วยที่ 4
การใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)
แนวคิด
          การเริ่มต้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตโปรแกรมแรกที่ทุกคนจะต้องทำความรู้จักคือ โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ เพราะเป็นโปรแกรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบของการใช้งานโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะเป็นรูปแบบที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ใช้ ซึ่งผู้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มาก่อนก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ทุกคนมีโอกาสเปิดโลกการเรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สาระการเรียนรู้
                   1. การใช้งานโปรแกรม Internet Explorer
                        1.1 ส่วนประกอบของโปรแกรม Internet Explorer
                        1.2 การหยุดการโหลด (Stop)
                        1.3 การสั่งให้มีการโหลดใหม่ (Refresh)
                        1.4 การกลับไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์ (Home)
                        1.5 การบันทึกเว็บเพจที่ชอบ (Favorites)
                        1.6 การเปิดดูเว็บไซต์ที่เคยไปเยือนมาแล้วในอดีต (History)
                        1.7 การพิมพ์เว็บเพจ (Print)
                        1.8 การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
                        1.9 การบันทึกเว็บเพจ
                       1.10 การปรับแต่งตัวอักษร
                       1.11 การทำ Work Offline
                       1.12 การเปิดหน้าต่างใหม่
                     2. การปรับแต่งโปรแกรม Internet Explorer
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                      1. บอกความหมายของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ได้
                      2. บอกวิธีการเรียกใช้งานโปรแกรม Internet Explorer ได้
                      3. อธิบายส่วนประกอบของโปรแกรม Internet Explorer ได้
                       4. อธิบายแถบเครื่องมือของโปรแกรม Internet Explorer ได้
                       5. แสดงวิธีการบันทึกเว็บไซต์ไว้ใน Favorites ได้
                       6. กำหนดค่าสำหรับการพิมพ์ข้อมูลของเว็บไซต์ได้
                       7. บอกวิธีการปรับแต่งโปรแกรม Internet Explorer ได้



     หลักจากที่เราเข้าใจความเป็นมา และการใช้งานในอินเทอร์เน็ตมาแล้ว โปรแกรมที่เราควรจะรู้จักให้ดียิ่งขึ้น ก็คือโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจต่าง ๆ  ในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้จะมีความสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ
    โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ มีหลายชนิด เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera เป็นต้น แต่ที่เรารู้จักดีและเป็นที่นิยมใช้งานคือ Internet Explorer เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Windows เช่น Windows 98, Windows me, Windows xp ฯลฯ ซึ่งระบบปฏิบัติการเหล่านี้ก็จะมีโปรแกรม Internet Explorer แถมมาให้อยู่แล้ว เพราะเป็นโปรแกรมที่สร้างโดยบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน
การใช้โปรแกรม lnternet Explorer
      โปรแกรม  lnternet Explorer  จะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนั้น ก่อนที่จะทำการใช้งานในโปรแกรม lnternet Explorer  ก็ต้องทำความรู้จักกับโปรแกรมนี้ก่อน  ซึ่งมีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
ส่วนประกอบของโปรแกรม lnternet Explorer 

1. แถบชื่อ (Title Bar) : แถบแสดงชื่อเว็บไซต์ที่กำลังเปิดใช้งานอยู่
2. แถบเมนู (Menu Bar) : แถบคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม  Internet Explorer โดยเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้ เมื่อต้องการใช้งานใดก็เลือกคลิกตามคำสั่งนั้น ๆ ได้
3. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (Standard Toolbar) : แถบแสดงไอคอน (Icon) ขอคำสั่งต่าง ๆ ที่เป็นปุ่มคำสั่งพื้นฐาน
4. แถบเครื่องมือที่อยู่ (Address Toolbar) : เป็นแถบที่สำหรับกรอกที่อยู่ของเว็บไซต์ที่ต้องการจะเข้าไปเยี่ยมชม
5. สัญลักษณ์เคลื่อนไหว : เป็นสัญลักษณ์แสดงการโหลดข้อมูลของเว็บไซต์ที่เราต้องการจะเข้าไปเยี่ยมชม เมื่อทำการโหลดข้อสมบูรณ์แล้ว สัญลักษณ์จะหยุดการเคลื่อนไหว

การหยุดการโหลด (Stop)


ในขณะที่โปรแกรมอยู่ในระหว่างการโหลดเว็บเพจตามที่เราพิมพ์ชื่อเว็บเพจไว้ในช่อง Address นั้น เมื่อเราไม่ต้องการเว็บเพจนี้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงชื่อเว็บเพจใหม่ เราก็ควรจะหยุดการโหลดเว็บเพจโดยคลิกที่ปุ่ม Stop

การสั่งให้มีการโหลดใหม่ (Refresh)
         เมื่อเราพิมพ์ชื่อ Web ไว้ที่ช่อง Address แล้ว บางครั้งเราจะพบว่าโปรแกรม Web Browser สามารถโหลดเว็บไซต์นั้นมาให้เราได้เพียงบางส่วนเท่านั้นก็หยุดการโหลด โดยเราจะสังเกตจากรูปธงที่สะบัดอยู่มุมบนด้านขวาของหน้าจอโปรแกรมหยุดการสะบัด เราสามารถสั่งให้โปรแกรมโหลดเว็บไซต์นั้นให้เราใหม่อีกครั้ง โดยที่เราไม่ต้องพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ในช่อง Address ใหม่เพียงแคคลิดที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการโหลดเว็บไซต์ที่เราต้องการให้ใหม่ทันที

การกลับยังหน้าแรกของเว็บไซต์ (Home)
     ในการเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ต่าง ๆ เมื่อคลิกลิงก์ไปยังหน้าอื่น ๆ  ของเว็บไซต์ ก็เหมือนกับเราเปิดหนังสือทีละหน้าอ่านไปเรื่อย ๆ เมื่อเราต้องการกลับไปยังหน้าแรกของเว็บไซต์นั้น ๆ ถ้าคลิกที่ปุ่ม Back ก็เหมือนกับเราพลิกกลับมาทีละหน้า แต่ถ้าต้องการกลับไปยังหน้าแรกครั้งเดียวเลยจะต้องคลิกที่ปุ่ม Home

การบันทึกเว็บเพจที่ชอบ (Favorites)
       เมื่อเราเล่นอินเทอร์เน็ตแล้วค้นหาข้อมูล หรือค้นหาเว็บเพจใหม่ไปเรื่อย ๆ เรามักจะคลิกไปจนพบกับเว็บเพจที่น่าสนใจ และต้องการที่จะกลับมาดูเว็บเพจนั้นอีกในครั้งต่อ ๆ ไป เราจะมีวิธีในการบันทึกเว็บเพจนั้นเก็บเอาไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัวของเรา เมื่อครั้งต่อไปที่ต้องการจะเปิดเว็บเพจนี้อีกก็ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ในช่อง Address อีก แต่สามารถค้นหาได้จากสมุดบันทึกส่วนตัวของเราได้ทันที ทำไห้เราสะดวกในการบันทึกเว็บเพจที่ชอบเก็บเอาไว้โดยไม่ต้องจดลงบนสมุดบันทึกอีกต่อไป
        การบันทึกไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัวภายในโปรแกรม Internet Explorer ให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้



1.  มีสมุดบันทึกของตนเองแล้ว (Folder)  ก็ให้ไปคลิกเปิดสมุดของตนเองขึ้นมาแล้วก็คลิกที่ OK โปรแกรมก็จะทำการบันทึกเว็บเพจที่เราต้องการเก็บเอาไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัวของเราทันที
2.  ไม่มีสมุดบันทึกของตนเอง ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี่
2.1    คลิกที่ New Folder
2.2    ชื่อโฟลเดอร์ (Folder) ที่เราสร้างใหม่ก็จะมาปรากฏที่ช่อง Create in
2.3    คลิกที่ปุ่ม OK ก็จะบันทึกเว็บเพจที่เราชอบไว้ในโฟลเดอร์ (Folder) ของเราให้เรีบยร้อย
ขั้นที่ 3 เมื่อต้องการปรับแต่งการจัดเก็บเว็บไซต์ไว้ในสมุดบันทึกให้เลือกที่ Organize
Create Folder:  สร้างโฟลเดอร์ใหม่
Rename: เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ หรือชื่อของเว็บไซต์ที่จะบันทึกไว้ในสมุดบันทึก
Move to Folder: ย้ายเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ในสมุดบันทึกไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ใหม่ โดยให้คลิกที่ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการย้าย แล้วเลือก Move to Folder จะปรากฏหน้าจอดังนี้ เพื่อให้คลิกเลือกโฟลเดอร์ (Folder) ใหม่
Delete: การลบโฟลเดอร์ (Folder) หรือลบเว็บไซต์ที่ได้บันทึกไว้แล้ว เมื่อต้องการลบคลิกเลือกชื่อเว็บไซต์ หรือ โฟลเดอร์ (Folder) ที่ต้องการจะลบแล้วจึงคลิกที่ปุ่ม Delete และจะปรากฏหน้าจอดังนี้ เพื่อเป็นการยืนยันการลบ
การเปิดดูเว็บไซต์ที่เคยไปเยือนมาแล้วในอดีต (History)


ขั้นตอนในการค้นหาเว็บไซต์ในอดีต ทำได้ดังต่อไปนี้
1. คลิกที่ปุ่ม History
2. แสดงข้อมูลของ History ทางด้านซ้ายมือ โดยจะรวบรวมไว้ในแต่ละวันว่าได้เข้าไปเปิดเว็บไซต์ไหนบ้าง
3. ถ้าต้องการตรวจสอบข้อมูลในวันใด ก็คลิกที่วันนั้น ๆ ก็จะแสดงรายชื่อของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เคยเข้าไปเยี่ยมชมมาแล้ว
4. ถ้าเราต้องการกลับไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เคยไปเยี่ยมมาแล้วก็สามารถคลิกเลือกชื่อเว็บไซต์นั้นได้เลย
5. เว็บไซต์จะแสดงขึ้นมาทันที


การพิมพ์เว็บเพจ (Print)
       ก่อนการพิมพ์ข้อความจากเว็บเพจควรจะต้องดูภาพก่อนพิมพ์เพื่อที่จะดูผลลัพธ์ที่จะได้เมื่อสั่งพิมพ์ เพื่อตรวจดูความถูกต้องก่อนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
การพิมพ์แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. คลิกที่รูป เครื่องพิมพ์ จะเป็นการสั่งพิมพ์โดยอัตโนมัติ คือพิมพ์หน้าเว็บเพจออกมาทั้งหมดเหมือนกับที่เราเครื่องพิมพ์ใน Microsoft Word
2. เลือกจาก เมนู Fileà Print จะสามารถกำหนดเงื่อนไขในการพิมพ์ตามที่เราต้องการได้ ดังนี้
All = พิมพ์ทั้งหมด
Selection = พิมพ์เฉพาะพื้นที่ที่เลือก (การเลือกพื้นที่ หรือ ข้อความที่ต้องการการ             พิมพ์ก็โดยการลากแถบดำคลุมพื้นที่ หรือ ข้อความนั้น ๆ)
Current Page= พิมพ์ในหน้าปัจจุบันที่ตำแหน่งของเคอร์เซอร์ (Cursor) กะพริบอยู่
Page= กำหนดหน้าที่ต้องการพิมพ์

การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
เมื่อต้องการที่จะกำหนดขนาดกระดาษ และขอบกระดาษก่อนที่จะทำการพิมพ์เว็บเพจให้ทำการเลือกเมนู File à Page Setup เพื่อกำหนดตามรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การตั้งค่าหน้ากระดาษ Page Setup
หมายเลข 1 คือ การกำหนดขนาดของกระดาษที่ต้องการจะเลือกใช้ในการพิมพ์เว็บเพจ
หมายเลข 2 คือ การกำหนดถาดกระดาษของเครื่องพิมพ์ สำหรับเครื่องพิมพ์ที่สามารถป้อนกระดาษได้หลายทาง
หมายเลข 3 คือ การกำหนดกาพิมพ์ข้อความบนหัวกระดาษ และท้ายกระดาษ ดังนี้
&w คือ ชื่อเว็บเพจ
&u คือ Address ของเว็บเพจ
&d คือ วันที่พิมพ์ แบบย่อ
&D คือ วันที่พิมพ์ แบบยาว
&t คือ เวลาที่พิมพ์ แบบมาตรฐาน
&T คือ เวลาที่พิมพ์ แบบ 24 ชั่งโมง
&p คือ เลขหน้าที่พิมพ์
&P คือ จำนวนหน้าทั้งหมดของเว็บเพจ
&& คือ การใส่เครื่องหมาย &
&b คือ ให้พิมพ์โดยจัดวางกลางกระดาษ
&b&b คือ ให้พิมพ์โดยจัดวางชิดขวา
หมายเลข 4 คือ การกำหนดแนวให้การพิมพ์บนกระดาษ
                          Portrait = แนวตั้ง
                          Landscape = แนวนอน
หมายเลข 5 คือ การกำหนดระยะขอบกระดาษ
                          Left = ระยะขอบด้านซ้าย
                         Right = ระยะขอบด้านขวา
                         Top = ระยะขอบด้านบน
                          Bottom = ระยะขอบด้านล่าง
การบันทึกเว็บเพจ
                         เมื่อต้องการที่จะบันทึกเว็บเพจ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนการบันทึกเว็บเพจ
1. เมื่อเปิดเว็บเพจที่จะต้องการบันทึกแล้ว ให้เลือกเมนู File à Save As...
2. โปรแกรมจะเปิดหน้าต่างของ Save Web Page มาให้
3. Save in : ให้ทำการเลือก Drive และ Folder ที่ต้องจะบันทึกเพจเก็บไว้
4. File name : โดยปกติโปรแกรมจะนำชื่อของเว็บเพจที่ต้องการจะบันทึกมาเป็นชื่อ File
Name แต่ถ้าต้องการที่จะตั้งชื่อในการเก็บเว็บเพจที่ต้องการจะบันมึกมาเป็นชื่อ File
Name ไดตามต้องการ
5. Save as type : เป็นการระบุชนิดในการบันทึกเว็บเพจ ดังนี้
Web Page, complete [*.htm, *.htm] = เป็นการบันทึกทั้งภาพและข่อความอย่างสมบูรณ์                           ให้ผลลัพธ์เหมือนกับหน้าเว็บเพจจริง
Web Archive, single file [*.mht] = เป็นการบันทึกทุกอย่างแต่ให้ผลลัพธ์เป็นไฟล์เดียว
Web page, HTML only [*.htm,*.html] = เป็นการบันทึกเป็นไฟล์ HTML โดยไม่มีภาพ
Text File [*.txt] = เป็นการบันทึกเป็นไฟล์ข้อความโดยไม่มีภาพ
6.  คลิกที่ปุ่ม Save เว็บเพจจะถูกบันทึกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้เลือกไว้ทันที
เว็บเพจที่ได้บันทึกไว้ โดยเลือก Save as type: Web page, complete [*.htm,*.htm] เมื่อเว็บเพจนั้นถูกบันทึกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ระบุไว้แล้ว จะถูกแบ่งการบันทึกออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็ฯข้อความจะถูกบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .htm หรือ .html และส่วนที่เป็นไฟล์รูปภาพนั้นจะถูกบันทึกไว้ในโฟลเดอร์ที่มีชื่อเดียวกับไฟล์ข้อความ ดังภาพ

การปรับแต่งตัวอักษร
            การปรับแต่งตัวอักษร แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. การปรับแต่งอักษรให้มีขนาดที่เปลี่ยนแปลงไป
สามารถเลือกได้จากเมนู View à Text Size ซึ่งโดยปกติขนาดของตัวษรจะมีขนาดกลาง คือ Medium แต่จะเปลี่ยนแปลงได้ 5 ขนาด โดยเรียงลำดับขากขนาดเล็กไปหาใหญ่ ดังต่อไปนี้
1. Smallest
2. Smaller
3. Medium
4. Larger
5. Largest
2. การปรับแต่งรูปแบบของภาษา
โดยปกติ รูปแบบของภาษาที่ใช้ในเว็บเพจ จะต้องมีรูปแบบของภาษาไทยเพื่อที่จะทำให้เว็บเพจที่เป็นภาษาไทยสามารถอ่านภาษาไทยนั้นได้ โดยดูได้จากเมนู
      ถ้าไม่มี Thai (Windows) จะทำให้เว็บเพจนั้นไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ถึงแม้ว่าเว็บเพจนั้นจะเป็นเว็บเพจไทยที่ทำขึ้นโดยใช้รูปแบบของตัวอักษรภาษาไทยก็ตาม
      แต่ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนให้รูปแบบของภาษาอื่น ๆ ก็สามารถเปลี่ยนได้ตามเมนูของภาษาต่าง ๆ ที่มีให้เลือก ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนเป็ยภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ไทยแต่เมื่อเลือกเมนู View à Encoding à Japanese (Shift-JIS)
การทำ Work Offline
      การทำ Work Offline เพื่อที่จะสามารถเก็บเว็บเพจที่ต้องการไว้อ่านอีกโดยไม่จำเป็นจะต้องทำการเชื่อมอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลในเง็บเพจบางครั้งมีจำนวนมากมาสามารถอ่านจบได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่เราสามารถย้อนกลับมาอ่านได้อีกโดยหน้าเว็บเพจที่ทำ Work Offline ไว้จะแสดงหน้าจอเสมือนกับขณะนั้นเราได้ทำการเชื่อต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตทุกประการ เพียงแต่ปุ่มเชื่องโยม (Link) ในหน้าเว็บเพจนั้นขณะที่ทำ   Work Offline นั้นยังไม่เคยผ่านการคลิกเพื่อเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่น ๆ หน้าเว็บเพจอื่น ๆ หรือเป็นการเชื่อโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ปุ่มการเชื่อมโยง (Link) จะไม่สามารถที่จะเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บเพจนั้น ๆ ได้ แต่ถ้าปุ่มการเชื่อมโยง (Link) นั้นเคยผ่านการคลิกผ่านมาแล้ว ก่อนที่จะทำ Work Offline  ปุ่มการเชื่อมโยงนั้นก็จะสามารถเปิดดูเว็บเพจน้าอื่น ๆ หรือสามารถที่จะเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ได้ทันที ถ้าต้องการทำ
Work Offline สามารถเลือกได้จากเมนู FileàWork   Offline ดังภาพ
    เมื่อเลือกเมนุการทำ Work Offline แล้ว จะปรากฏคำว่า “[Working Offline]” ด้านบนของหน้าเว็บเพจ
การเปิดหน้าต่างใหม่


       วิธีนี้จะเป็นการเปิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาในขณะที่น้าต่างเดิมยังคงอยู่ และหน้าต่างใหม่ที่เปิดขึ้นมาก็จะมีหน้าเว็บเพจเหมือนกับหน้าต่างเดิมทุกประการ แต่ถ้าเราต้องการเปิดเว็บเพจใดก็ให้ไปเปลี่ยนชื่อของเว็บเพจในช่อง Address ใหม่ หน้าเว็บเพจในหน้าต่างนี้ก็จะโหลดเว็บใหม่มาแสดง
         แต่เมื่อเราต้องการจะกลับไปทำงานยังหน้าเดิม ก็ให้คลิกที่ชื่อของเว็บเพจพร้อม ๆ กันได้หรือในขณะที่เรารอการโหลดเว็บเพจ  เราก็สามารถเปิดหน้าต่างขึ้นมาใหม่แล้วก็สั่งให้โหลดเว็บเพจอื่น ๆ ต่อไปก่อนแล้วจึงกลับมาดูยังเว็บเพจเดิมที่โหลดเสร็จแล้วได้

การปรับแต่งโปรแกรม Internet Explorer
เมื่อต้องการปรับแต่งการทำงานทั่วไปของ Interner Explorer จะต้องทำการเลือกเมนูดังนี้ Tools à Internt Options

การปรับแต่งทั่วไป (Genetal)
การปรับแต่งการทำงานทั่วไปของ  Interner Explorer สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
การกำหนดการเปิดหน้าของเว็บเพจ(Web Page) แรกเมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรม Internet Explorer
ส่วนที่ 2 Temporary Internet Files
กำหนดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ที่ Internet Explorer  เพื่อใช้ในการบันทึกเว็บเพจที่เคยไปเยี่ยมชมแล้ว เมื่อต้องการเรียกใช้เว็บเพจนั้นอีกก็สามารถดึงมาใช้ได้ทันที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอเพื่อโหลดข้อมูลจากเว็บไซต์ ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้ทำหน้าที่เสมือนหน่วยความจำชั่วคราวสำหรับเรียกใช้เว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว ทางเดินเทคนิคเรียกว่า แคลช : Cache
หมายเลข 1 กำหนดวิธีการทำงานของแคลช (Cache)
Every visit the page :  เป็นการสั่งให้ Explorer ตรวจสอบว่าเว็บเพจที่เราเปิดดูเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยบันทึกไว้ในแคช (Cache)หรือไม่ ทุกครั้งก่อนนำมาแสดง
Every time you start Internet Explorer :  ทุกครั้งที่เรียกใช้โปรแกรม Explorer เพื่อเรียกดูเว็บเพจ Explorer จะนำเว็บเพจที่ได้บันทึกไว้ในแคลช มาแสดงทันที โดยไม่ตรวจสอบว่าหน้าเว็บเพจได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ วิธีนี้ทำให้เรียกใช้เว็บเพจนั้นรวดเร็วกว่าวิธีแรก
Automatically :  กำหนดให้ Explorer ตรวจสอบว่าเพจที่เปิดดูว่าเปลี่ยนไปจากที่บันทึกไว้ในแคลช (Cache)หรือไม่ แต่ถ้าพบว่าเว็บเพจนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ได้บันทึกไว้ ก็จะตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเว็บนั้นน้อยลง วิธีนี้ทำให้สามารถเปิดดูเว็บเพจที่เคยเปลี่ยนแปลงของเว็บเพจนั้นน้อยลง วิธีนี้ทำให้สามารถเปิดดูเว็บเพจที่เคยเปิดดูแล้วได้อย่างรวดเร็ว
Never :  กำหนดให้เมื่อเปิดดูเว็บเพจที่เคยเปิดดูแล้ว ให้ Explorer นั้นที่บันทึกไว้ในแคลช (Cache )มาแสดงทันที ถ้าเว็บเพจมีการเปลี่ยนแปลงหน้านั้นจะไม่ถูกนำมาแสดงให้เห็นวิธีนี้ทำให้สามารเปิดดูเว็บเพจที่เคยเปิดดูได้อย่างรวดเร็วที่สุด แต่อาจไม่แสดงเว็บเพจล่าสุดให้เห็น
หมายเลข 2  กำหนดพื้นที่ในฮารดดิสก์สำหรับใช้ในแคลช (cache)
หมายเลข 3  ย้ายตำแหน่งเก็บโฟลเดอร์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
หมายเลข 4  ดูไฟล์ทั้งหมดที่ได้บันทึกเก็บไว้ในแคลช (cache)
หมายเลข 5  ดูรายชื่อของออบเจกต์ต่าง ๆ ที่ถูกโหลดมาเก็บในแคลช (cache)

ส่วนที่ 3 History  
การบันทึกประวัติของการเข้าไปใช้งานในเว็บเพจต่าง ๆ นั้น จะได้ทำการบันทึกว่าในแต่ละวันเคยเข้าใช้งานเว็บเพจใดบ้าง ก็สามารถค้นดูได้จากประวัติการใช้งาน หรือ History นั่นเองเราสามารถกำหนดจำนวนระยะเวลาในการบันทึกประวัติการใช้งานของเว็บเพจได้จาก Imtermer Options ในส่วนของ History โดยจะกำหนดจำนวนเวลาในการบันทึกประวัติการใช้งานไว้ที่ 20 วัน แต่ละจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามที่เราต้องการ
        Clear Histoy เมื่อต้องการลบประวัติการใช้งานเว็บเพจต่าง ๆ ให้คลิกที่ปุ่มนี้ ประวัติการเข้าไปใช้งานในเว็บเพจต่าง ๆ ในแต่ละวันจะถูกลบออกไปจากหน่วยความจำของเครื่องทันที

ส่วนที่ 4 ปรับแต่งรายละเอียกต่าง ๆ
Colors… การกำหนดสีพื้นหลัง สีข้อความปกติ สีข้อความที่ใช้ในการเชื่อมโยง (Link)และข้อความที่เป็นต-แหน่งของการเชื่อมโยง (Link)ที่เคยเปิดดูแล้ว
Fonts…การกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่ใช้
Languages… กำหนดภาษาที่ใช้ โดยปกติภาษาที่ใช้ คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษและสามารถเพิ่มเติมรูปแบบภาษาได้ โดยเลือกที่ปุ่ม  Add จะมีรูปแบบภาษาต่าง ๆ ให้เลือกอีกมากมายที่สามารถจะเลือกเพิ่มเติมอีกได้
Accessibility….กำหนดการแสดงผลให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการใช้สายตา โดยสั่งให้ Explorer ไม่แสดงเว็บเพจตามรูปแบบตัวอักษร และขนาดตัวอักษรใหม่ที่ช่วยให้อ่านง่ายขึ้น
(พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร .2546 : 350)